ในยุคที่องค์กรต้องการคนทำงานที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ การ ตรวจประวัติพนักงาน กลายเป็นขั้นตอนสำคัญที่ HR ไม่ควรมองข้าม เพราะพนักงานที่มีประวัติไม่เหมาะสมอาจนำความเสี่ยงหรือปัญหามาสู่องค์กรได้ ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปดู 6 ประวัติที่ HR ไม่ควรรับมาร่วมงาน เพื่อให้การคัดเลือกพนักงานของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อองค์กร
1.ทำร้ายร่างกาย
ประวัติการทำร้ายร่างกาย หรือการทะเลาะวิวาท คือสัญญาณที่บอกถึงพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เหมาะสมของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งผลกระทบอันดับแรกที่องค์กรและพนักงานจะได้รับคือความมั่นคงปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อการทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน จนทำลายความสามัคคีของคนในทีม หรือขั้นร้ายแรง อาจทำร้ายร่างกายลูกค้าที่มาใช้บริการ ส่งผลให้องค์กรได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียง และอาจร้ายแรงถึงขั้นกลายเป็นคดีความในท้ายที่สุด
2.ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์
นอกจากประวัติการทำร้ายร่างกายที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ต่อองค์กรแล้ว อีกหนึ่งความผิดที่ HR ควรหลีกเลี่ยงเมื่อ ตรวจประวัติพนักงาน ไม่แพ้กันคือ ประวัติการลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ เพราะอาจเป็นความเสี่ยงต่อความสูญเสียทางด้านทรัพย์สินขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งที่รับผิดชอบด้านการเงิน หรือบัญชีต่าง ๆ ขององค์กร ที่ HR ควรตรวจประวัติพนักงานเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการทุจริตรูปแบบต่าง ๆ
3.ล่วงละเมิดทางเพศ
ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ คืออีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นแทบทุกยุคสมัย และเหยื่อส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง ซึ่งบางครั้งการล่วงละเมิดอาจเป็นปัญหาเงียบที่ผู้เสียหายไม่กล้าพูดออกไป จนสร้างผลเสียต่อผลการทำงานที่ออกมา รวมถึงทำให้บรรยากาศขององค์กรไม่ปลอดภัย ดังนั้นองค์กรควรสร้างตัวเองให้เป็น Safe Zone ให้กับพนักงาน ด้วยการหลีกเลี่ยงคนที่มีประวัติการล่วงละเมิดทางเพศเข้ามาร่วมงาน และช่วยรักษาความปลอดภัยให้บรรยากาศการทำงานมากยิ่งขึ้น
4.เสพหรือค้ายาเสพติด
ปัญหายาเสพติดถือว่าเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น การเสพ หรือการจำหน่าย โดยจากผลสำรวจทางสถิติพบว่ามีคนที่มีประวัติเกี่ยวกับยาเสพติดสูงถึง 54.17% ซึ่งการมีพนักงานที่มีประวัติยาเสพติด อาจส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งงานที่ต้องติดต่อ หรือบริการลูกค้า พนักงานที่ติดยาเสพติดอาจแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม จนส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
5.เมาแล้วขับ/ละเมิดกฎหมายจราจร
การเมาแล้วขับ หรือการละเมิดกฎหมายจราจร เป็นการสะท้อนถึงการขาดจิตสำนึกต่อสังคม ขาดความรับผิดชอบ และมีการยึดตัวเองเป็นหลัก การรับพนักงานที่มีประวัติเหล่านี้มา อาจส่งผลกระทบต่อตัวงาน รวมถึงการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมในสังคม เมื่อสืบสาวราวเรื่องมาสู่องค์กรที่บุคคลนั้น ๆ ทำงานด้วย ก็ส่งผลเสียต่อองค์กรในภายหลัง
นอกจากนี้ในตำแหน่งงานที่ต้องทำหน้าที่ขับขี่ การตรวจประวัติ พนักงานในส่วนของการเคารพกฎหมายจราจรก็เป็นเรื่องสำคัญที่ควรตรวจอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงที่บุคคลที่มีประวัติจะก่อความประมาทจนเกิดอุบัติเหตุ
6.ขายข้อมูลลูกค้า
ในยุคที่เต็มไปด้วยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เข้ามาหลอกลวงผู้คน โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ทำให้กฎหมาย PDPA ได้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมักเกิดขึ้นกับองค์กรที่ให้บริการด้านการเงิน หรือธุรกิจประกัน ที่มีข้อมูลสำคัญของลูกค้าทุกคน โดยองค์กรเองสามารถระวังในกรณีข้อมูลต่าง ๆ รั่วไหลโดยพนักงานที่ไม่หวังดี ด้วยการตรวจประวัติพนักงาน เพื่อระวังคนที่มีประวัติของการยักยอก ขโมยข้อมูลของลูกค้า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงรวมทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรอีกด้วย
สรุป
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการกระทำผิดกฎหมายมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นการ ตรวจประวัติพนักงาน คือเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรควรทำ เพราะนอกจากจะเป็นป้องกันทรัพย์สินและชื่อเสียงขององค์กร ยังเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี แต่ทั้งนี้หลังจากที่ตรวจประวัติในแต่ละครั้ง HR ควรเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้อธิบายเหตุผลต่าง ๆ ของการกระทำผิดด้วยความเป็นธรรม หากพบว่าพนักงานมีความรู้สึกผิดต่อสิ่งที่ทำลงไป ให้พิจารณาการรับพนักงานคนนั้นตามความเหมาะสม
สำหรับองค์กรไหนที่ต้องการตรวจประวัติที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ขอแนะนำ Appman Background Checker บริการตรวจประวัติพนักงาน รูปแบบออนไลน์ 100% ไม่ต้องเดินเรื่อง ไม่ต้องเดินเอกสาร ทราบผลไว และรองรับกฎหมาย PDPA