ในปัจจุบัน ตลาดของ เทคโนโลยี OCR และเศรษฐกิจดิจิทัลมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลทางสถิติจากธนาคารโลก ได้ประมาณการเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบันว่ามีสัดส่วนต่อ GDP โลก มากถึง 15.5% ทั้งยังยังเติบโตในอัตราที่เร็วกว่า GDP ทั่วโลกในอัตรา 2.5 เท่า
จากข้อมูลดังกล่าว เรียกได้ว่าเทคโนโลยี OCR หรือ Optical Character Recognition ได้กลายเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญ ในการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลตัลในภาพรวม ด้วยการแปลงข้อมูลขององค์กรให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ
นอกจากนี้ เทคโนโลยี OCR ยังเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนแผนการขยายธุรกิจของบริษัท เพื่อเปลี่ยนผ่านข้อมูลในรูปแบบเอกสาร เข้าสู่ระบบดิจิทัล และทำการบันทึกไว้บนคลาวด์ขององค์กร ซึ่งจะช่วยได้ทั้งเรื่องของการประหยัดต้นทุนในการคีย์ข้อมูล รวมถึงลดความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูลเอกสารได้อีกทางหนึ่ง
การพัฒนาเทคโนโลยี OCR ของ AppMan ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
จากการพัฒนาเทคโนโลยีการรู้จำอักขระด้วยแสง (OCR) อย่างต่อเนื่อง ทำให้ AppMan ทำการยกระดับการทำงานของระบบ OCR ให้มีความฉลาดมากยิ่งขึ้น โดยการนำปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “AI” มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบ Machine Learning ทำความเข้าใจกับเนื้อหา พร้อมกับตรวจสอบข้อผิดพลาดในเอกสารที่แสกนได้ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับข้อผิดพลาดของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ รวมไปถึงการช่วยลดต้นทุนของกระบวนการในธุรกิจได้เป็นอย่างมาก
5 ฟังก์ชั่นสำคัญของเทคโนโลยี OCR และ AI+Machine Learning ของ AppMan
- รองรับภาษาไทย และมีความแม่นยำสูง 98% [สูงสุดในตลาด]
- ยิ่งใช้งาน ระบบยิ่งฉลาดขึ้น
- ประมวลผลด้วยความเร็วสูง
- กระบวนการทำงานยืดหยุ่น
- ติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว
- มาตรฐานความปลอดภัยสูง
ดูเอกสารที่รองรับเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่
นอกจากที่องค์กรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะใช้เครื่องมือ OCR เพื่อแปลงข้อมูลทางกายภาพให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลแล้ว ภาคธุรกิจธนาคาร สถาบันการเงิน รวมถึงการดูแลสุขภาพ ยังใช้ระบบ OCR ในการสร้างสำเนาเช็ค ใบแจ้งหนี้ และเอกสารอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัลอีกด้วย
7 ตัวอย่างการใช้งาน เทคโนโลยี OCR และ Ai+Machine Learning ในภาคธุรกิจ
- การจัดการเอกสารทางการเงิน (Financial documents)
- การจัดการข้อมูลทางกฏหมาย (Legal Data)
- การสื่อสารระหว่างองค์กร (Communication)
- การเคลมประกันภัย (Insurance Claiming)
- การจัดการรายงานทางการแพทย์ (Medical Report)
- การเดินทางและท่องเที่ยว (Traveling)
- การทำการตลาด (Marketing)
การจัดการเอกสารทางการเงิน (Financial documents)
เทคโนโลยี OCR ถูกนำมาใช้กับแอปพลิเคชันของทางธนาคาร เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแสกนเอกสารประเภทเช็คด้วยกล้องมือถือ และนำไปขึ้นเงินได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สาขาประจำพื้นที่
ในกรณีอื่น ๆ ระบบ OCR ยังถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ให้มีความปลอดภัยมากขึ้นด้วยกระบวนการปกปิดข้อมูล (Data Masking) ผ่าน AI โดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ว่าจะเป็น สลิปเงินเดือน ใบสัญญาจำนอง บัตรเครดิต บัตรประชาชน ฯลฯ ที่ถูกนำเข้าระบบและถูกจัดเก็บไว้ในธนาคารจะมีความปลอดภัยสูง นอกจากนั้นยังสามารถนำมาใช้กับกระบวนการป้อนข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล อย่างเช่น ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เพื่อลดเวลา และความผิดพลาดของการป้อนข้อมูลได้เช่นกัน
” Data Masking คือ การปิดบังข้อมูลเฉพาะส่วน เพื่อปกป้องข้อมูลไม่ให้เกิดการเสียหาย รวมถึงป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสำคัญจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้มีความปลอดภัยขั้นสูง “
ข้อมูลทางกฏหมาย
(Legal Data)
การจัดการข้อมูลทางกฏหมาย (Legal Data)
ธุรกิจด้านกฏหมาย โดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้เอกสารที่มีปริมาณมาก แต่เครื่องมือ OCR ได้เข้ามาช่วยให้บริษัทด้านกฏหมาย สามารถแปลงข้อมูลบนเอกสาร เช่น เอกสารคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษร คำพิพากษา การยื่นคำร้อง คำแถลง เจตจำนง และอื่น ๆ ให้เป็นข้อมูลทางดิจิทัล เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ รวมถึงการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
การสื่อสารระหว่างองค์กร (Communication)
กระบวนการทำงานที่ได้รับความนิยมในการใช้เทคโนโลยี OCR มากที่สุด คือ หนังสือดิจิทัล (E-Book) และเอกสารที่ไม่มีโครงสร้าง (Generic Document) เนื่องจากสามารถช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นเรื่องง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Google Translate ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าใจภาษาอื่น ๆ ได้ แม้ว่าจะไม่ใช่เจ้าของภาษาเอง
เทคโนโลยีการรู้จำอักขระด้วยแสง ยังช่วยให้พนักงานในองค์กรสามารถสื่อสารกับองค์กรต่างประเทศได้อย่างเข้าใจ เช่น การแสกนเอกสารต่างภาษา และนำมาประมวลผลเพื่อแปลเป็นภาษาที่เข้าใจ ซึ่งช่วยให้การทำงานลื่นไหล และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้มากขี้น
การเคลมประกันภัย
(Insurance Claiming)
การเคลมประกันภัย (Insurance Claiming)
สำหรับภาคธุรกิจประกันภัยที่ติดตั้งเทคโนโลยี OCR API สามารถผลักดันให้อุตสาหกรรมประกันภัยมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการประมวลผลการเคลมประกันแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมที่รวดเร็วมากขึ้น ทำให้สามารถลดต้นทุนของในการดำเนินงานได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความสะดวก และความพึงพอใจแก่ลูกค้า ซึ่งส่งผลดีในระยะยาวแก่ธุรกิจ
การจัดการรายงานทางการแพทย์ (Medical Report)
ระบบ OCR มีส่วนร่วมอย่างมากในการผลักดันอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนรายการทางการแพทย์ ข้อมูลการเอ็กซ์เรย์ ประวัติของผู้ป่วย การรักษา การวินิจฉัย การทดสอบ และบันทึกของโรงพยาบาลโดยรวมให้กลายเป็นข้อมูลรูปแบบดิจิทัล ซึ่งช่วยให้สามารถเก็บบันทึกได้อย่างยาวนานและปลอดภัย รวมถึงช่วยให้การสืบค้นประวัติการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายทำได้ง่าย และรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
การเดินทางและท่องเที่ยว
(Traveling)
การเดินทางและท่องเที่ยว (Traveling)
OCR ได้เข้ามาปฏิวัติวงการท่องเที่ยว ทำให้การเดินทางเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการจองเที่ยวบิน การจองโรงแรม รวมไปถึงการเช็คอินที่สนามบิน และโรงแรมผ่านระบบอัตโนมัติด้วยการแสกนหนังสือเดินทางของนักท่องเที่ยวเพื่อการยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ของโรงแรม หรือแอปพลิเคชั่นจองบริการต่างๆ ที่จำเป็นในการท่องเที่ยว
” E-KYC (Electronic Know-Your-Customer) คือ การยืนยันตัวตนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ตัวบุคคลไม่จำเป็นต้องเดินทางไปด้วยตัวเอง เรียนรู้เพิ่มเติม >> คลิกที่นี่ “
การทำการตลาด (Marketing)
ภาคธุรกิจสามารถทำกิจกรรมทางการตลาด และออกแบบโปรโมชั่นส่งเสริมการขายได้ง่ายขึ้น โดยลูกค้าสามารถแสกนบัตรกำนัดและรหัสที่ปรากฏบนคูปอง ผ่านระบบ OCR บนมือถือ ได้ทันที ทั้งยังสามารถกระจายแคมเปญทางการตลาดต่อได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางด้วยระยะเวลาสั้น ๆ
นอกจากนี้ เทคโนโลยี OCR ยังช่วยให้ธุรกิจร้านค้าปลีก สามารถเก็บข้อมูลการใช้งาน และพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อใช้ในการออกแบบโปรโมชั่น หรือผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
————————————————————————————————————
ธุรกิจของคุณสามารถทดลองใช้งาน OCR API
ที่รองรับภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ดีที่สุด ฟรี