fbpx

ต้นกำเนิดของ เทคโนโลยี OCR ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้

ต้นกำเนิดของเทคโนโลยี OCR ที่ใครหลายคนอาจยังไม่รู้

ในปัจจุบัน เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ล่าช้า ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงยังช่วยลดการใช้เอกสารกระดาษ และงบประมาณอีกด้วย ทำให้ขั้นตอนการทำงานทุกอย่างสามารถดำเนินการในรูปแบบดิจิทัล แต่หากย้อนไปยังจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี OCR เราจะพบว่าเทคโนโลยีนี้มีอายุมานานร่วม 100 ปีแล้ว ซึ่งจากในยุคเริ่มต้น จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนา OCR อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญ และอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในอนาคต

OCR เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

จุดเริ่มต้นของ OCR

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี OCR ต้องย้อนกลับไปช่วงปี 1920 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันขื่อ Emanuel Goldberg ที่ได้ทำการประดิษฐ์เครื่องมือที่เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี OCR เป็นเครื่องอ่านอักขระ และแปลงเป็นรหัสโทรเลขมาตรฐาน ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องประดิษฐ์ชิ้นแรก ๆ ของโลกที่ใช้เทคโนโลยีการอ่านอักขระด้วยแสง

จากนั้นในปี 1927 Goldberg ก็ได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยี OCR ให้มีความเหนือชั้นมากยิ่งขึ้น ด้วยสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า “เครื่องอ่านสถิติ” หรือ “Statistical Machine” เครื่องมือที่ทำหน้าที่ในการค้นหาไฟล์ที่เก็บถาวรของไมโครฟิล์ม ซึ่งทำหน้าที่ในการระบุข้อมูลผ่านการจดจำด้วยแสง โดยการทำงานของ เครื่องอ่านสถิติ ได้ทำให้ Goldberg ประสบความสำเร็จ และได้รับสิทธิบัตรจากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ก่อนจะถูกซื้อกิจการโดยไอบีเอ็มในภายหลัง

OCR ในศตวรรษที่ 21

พัฒนาการของเทคโนโลยี OCR ที่นำมาสู่รูปแบบที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน เริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดยเริ่มจากบริษัท Kurzweil Computer Products, Inc ที่ก่อตั้งโดย Ray Kurzweil ได้เห็นปัญหาของเทคโนโลยี OCR แบบดั้งเดิม เนื่องจากการทำงานนั้นจะสามารถทำการอ่านเฉพาะข้อความที่มีความสมบูรณ์แบบ ตรงตามที่โปรแกรมรู้จักเท่านั้น นอกจากนี้ด้วยหน่วยความจำที่จำกัดของคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ทำให้ฐานข้อมูลมีขนาดเล็ก Kurzweil จึงได้พัฒนา Omni-font เทคโนโลยี OCR รุ่นแรกที่สามารถทำหน้าที่จดจำข้อความที่พิมพ์ด้วยฟอนต์ทุกชนิด  

หลังจากนั้น Kurzweil ก็ได้ประยุกต์เทคโนโลยี OCR ในสิ่งประดิษฐ์ “The Kurzweil Reading Machine” ที่ถูกเปิดตัวเมื่อปี 1976 โดยเป็นการร่วมมือระหว่าง Kurzweil และสมาพันธ์คนตาบอดแห่งชาติ National Federation of the Blind (NFB) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำหน้าที่ในการอ่านตัวหนังสือ หรืออักขระที่พิมพ์ ให้ออกมาเป็นเสียง เพื่อให้คนตาบอดสามารถรับรู้ได้ ด้วยการทำงานของเทคโนโลยี OCR จากความประสบความสำเร็จของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ก็ได้เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี OCR ในปัจจุบัน

จนกระทั่งในช่วงปี 2000 ที่ได้มีการเปิดใช้งาน OCR ในรูปแบบออนไลน์ (WebOCR) ผ่านระบบคลาวน์ และแอปพลิเคชันมือถือ ที่เพิ่มความสะดวกให้กับการใช้งานด้วยการสามารถใช้งานได้แบบเรียลไทม์ ไร้พรหมแดน ด้วยการดำเนินการผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งจะทำหน้าที่ด้วยการแยกข้อความที่ทำการบันทึกโดยใช้กล้องของอุปกรณ์ หากอุปกรณ์ใดที่ไม่มีฟังก์ชันรองรับ OCR ก็จะมีการใช้วิธีอ่านอักขระโดย OCR API ที่จะทำงานโดยแยกข้อความจากไฟล์รูปภาพ หลังจากนั้นจะทำการส่งคืนข้อความที่ถูกแยกออกมา และส่งกลับไปยังแอปพลิเคชันของอุปกรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป

โซลูชันดึงข้อมูลจากเอกสารได้หลากหลายประเภท และมีความแม่นยำสูง ด้วย APPMAN OCR API เรียนรู้เพิ่มเติม

6 บทบาทสำคัญของ เทคโนโลยี OCR ในอุตสาหกรรมต่าง ๅ

อย่างที่ทราบกันดีว่าในตอนนี้เทคโนโลยี OCR ถูกนำมาปรับใช้ในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งเราสามารถจำแนกธุรกิจที่นำเทคโนโลยี OCR มาปรับใช้ในการทำงานได้ ดังนี้

ประเภทของธุรกิจที่นำ เทคโนโลยี OCR มาใช้ในกระบวนการทำงาน


OCR - Banking

1. ธุรกิจธนาคาร (Banking)

ธนาคารเป็นอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่มีการใช้งานเทคโนโลยี OCR มาใช้ในกระบวนการทำงาน และยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน OCR มากที่สุด ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วของกระบวนการในขั้นตอนการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเงิน รวมถึงสามารถเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลของลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย

หน้าที่ของระบบ OCR ในธุรกิจธนาคาร คือการใช้แสกนข้อมูลของเช็คธนาคาร, ใบเสร็จการทำธุรกรรม, รายงานทางการเงิน และเอกสารการโอนเงิน ไปจนถึงการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าที่มาทำธุรกรรมกับธนาคาร นอกจากนี้ OCR ยังช่วยลดความผิดพลาดของการทำงาน และสามารถดึงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมาใช้งานได้ทันที 

OCR - Insurance

2. ธุรกิจประกันภัย (Insurance)

การดำเนินงานของอุตสาหกรรมประกันภัยในรูปแบบดั้งเดิมนั้น เต็มไปด้วยการจัดการเอกสารมากมายในแต่ละวัน ซึ่งเมื่อเอกสารมีจำนวนมากขึ้น ทำให้การทำงานมีความล่าช้า และเกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้น OCR เลยได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยให้อุตสาหกรรมประกันภัยสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น 

เทคโนโลยี OCR จะทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้า ทั้งใหม่ และเก่า โดยเฉพาะการติดต่อซื้อประกันของลูกค้าใหม่ โดยปัจจุบัน OCR ได้ช่วยทำให้การทำงานมีความสะดวก ง่ายดายขึ้นกว่าเดิม เพียงแค่ลูกค้าทำการแสกนข้อมูลเอกสารส่วนบุคคล ระบบ OCR ก็จะทำการกรอกข้อมูลโดยอัตโนมัติ ทำให้ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการกรอกเอกสาร และยังสามารถทำผ่านรูปแบบออนไลน์ ที่ผู้ขายประกัน และผู้ซื้อประกันไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากันแต่อย่างใด

OCR - Healthcare

3. ธุรกิจการดูแลสุขภาพ (Healthcare)

ในแต่ละวันโรงพยาบาล หรือคลินิก ได้มีคนเข้ามาใช้บริการจากการเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใหม่ที่เข้ามารับการรักษา หรือผู้ป่วยเก่าที่กลับมารับการตรวจเป็นประจำ ทำให้มีการใช้เอกสาร และระบบการทำงานที่ยุ่งยาก และเต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล OCR จึงมาช่วยทำหน้าที่ในการจัดการให้การทำงานของโรงพยาบาลให้สามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

บทบาทของ OCR ในการดูแลสุขภาพ คือการช่วยจัดเก็บข้อมูลของคนไข้ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถพร้อมหยิบใช้งานได้ทุกเมื่อ หากคนไข้รายเดิมกลับมาใช้บริการอีกครั้ง ทางโรงพยาบาลสามารถนำข้อมูลการรักษามาตรวจสอบ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม มีความต่อเนื่อง 

4. ธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ (eCommerce)

ในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการขายของบนโลกออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตอย่างมาก ด้วยจำนวนลูกค้าที่มีจำนวนมากมาย ทำให้ เว็บไซต์ หรือร้านค้าออนไลน์เหล่านี้จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี OCR เพื่อนำมาจัดการข้อมูลของลูกค้า

หน้าที่ของ OCR ใน eCommerce คือการช่วยจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ สินค้าที่จัดส่ง และราคา หรือส่วนลดของสินค้า รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลสินค้าคงคลังของธุรกิจ เพื่อให้สามารถตรวจสอบ และดึงข้อมูลมาใช้งานได้ตลอดเวลา เพราะความถูกต้องคือปัจจัยสำคัญของการจัดส่งสินค้า หากมีการจัดส่งที่ผิดพลาด หรือคำนวณราคาผิดพลาด อาจทำให้เกิดความไม่พอใจจากลูกค้า 

5. แผนกทรัพยากรบุคคล (HR)

ในการประกาศรับสมัครงานในแต่ละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทใหญ่ ๆ มักต้องเผชิญคือจำนวนใบสมัครงานที่มากมายของผู้ที่มาสมัครงาน ทำให้ขั้นตอนในการคัดกรองข้อมูลของพนักงาน HR ต้องใช้เวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการคัดคุณสมบัติที่เหมาะสม ทั้งวุฒิการศึกษา ความสามารถ รวมถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และประวัติอาชญากรรม 

เทคโนโลยี OCR จะทำหน้าที่ในการช่วยลดระยะเวลาดำเนินการขั้นตอนนี้ของ HR และเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองคนมากขึ้น ด้วยการช่วยคัดกรองข้อมูลของใบสมัครงาน และแบ่งข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ ทำให้พนักงาน HR สามารถเลือกพนักงานที่เหมาะสมจากข้อมูลที่ถูกจำแนกไว้เรียบร้อยแล้ว ทำให้บริษัทสามารถประหยัดเวลา ในการดำเนินงาน และยังทำให้บริษัทมีโอกาสได้พนักงานที่ตรงคุณสมบัติที่ต้องการมากกว่าเดิม

6. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (RealEstate)

ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เต็มไปด้วยการทำงานที่ใช้เอกสารจำนวนมากในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา, สัญญาซื้อขาย และใบเสร็จต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ แต่ในระบบการทำงานแบบดั้งเดิม การค้นหาเอกสารต่าง ๆ ในแต่ละครั้งมีความยุ่งยาก และใช้เวลานาน 

ประโยชน์ของเทคโนโลยี OCR คือการช่วยลดความซับซ้อนยุ่งยากของการหาเอกสารต่าง ๆ ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการจัด และจำแนกเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ และเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ทันที 

YouTube player

โซลูชันดึงข้อมูลจากเอกสารได้หลากหลายประเภท และมีความแม่นยำสูง ด้วย APPMAN OCR API เรียนรู้เพิ่มเติม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *