fbpx

4 เทรนด์ยอดฮิต การทำ “Digital Transformation” ในอุตสาหกรรม Fintech 2022

4 เทรนด์ยอดฮิต การทำ Digital Tranformation ของอุตสาหกรรม Fintech 2022
4 เทรนด์ยอดฮิต การทำ Digital Tranformation ของอุตสาหกรรม Fintech 2022

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมฟินเทค ได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการทำธุรกรรมต่างๆ ไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากในแต่ละปีได้มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ทันท่วงที เจ้าของกิจการและผู้บริหารในธุรกิจการเงินการธนาคารจึงต้องวางแผนรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับทำความเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับขับเคลื่อนภาพรวมของธุรกิจการเงินรวมถึงขยายโอกาสในการแข่งขัน

ฟินเทค (Fintech) คืออะไร ?

ฟินเทค (Fintech Technology) คือ เทคโนโลยีที่นำมาใช้กับอุตสาหกรรมการเงิน เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น สินค้า การบริการ การแก้ปัญหาทางการเงิน รวมไปถึงการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้ง่ายต่อการเข้าถึง และช่วยให้สามารถจัดการเกี่ยวกับการเงินได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แต่เดิมนั้นเทคโนโลยีทางการเงิน เริ่มต้นจากการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการทำงานของธนาคาร เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น พร้อมกับการที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้การทำธุรกรรมไม่ถูกจำกัดอยู่กับสถาบันการเงินเพียงอย่างเดียว รวมถึงการให้บริการทางการเงินที่แตกออกเป็นหลากหลายประเภทในปัจจุบัน

305.7 พันล้านดอลลาร์
คือ มูลค่าตลาดที่คาดการณ์ไว้ของอุตสาหกรรมฟินเทคภายในปี 2023
70% ของทุกอุตสาหกรรม
การให้บริการทางการเงิน
ใช้ Machine Learning
32.4 พันล้านดอลลาร์
คือผลรวมที่สตาร์ทอัพฟินเทคที่ดึงดูดเม็ดเงินจากทั่วโลกในไตรมาสที่ 1 ของปี 2022 เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบเป็นรายปี
207.11 พันล้านดอลลาร์
คือรายได้ที่คาดหวังจากบริการชำระเงิน และเรียกเก็บเงินซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตหลักสำหรับตลาดฟินเทคในสหรัฐฯ ภายในปี 2023

4 เทรนด์ยอดฮิต การทำ “Digital Transformation” ในอุตสาหกรรม Fintech 2022

Web & Blockchain

Web 3.0 และ Blockchain

Web 3.0 คืออะไร? 

ข้อดีของการใช้เทคโนโลยี Web 3.0 และบล็อคเชน ที่สามารถกระจายอำนาจแก่ผู้ใช้งานทั่วโลก ทำให้ผู้คนสนใจที่จะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากโทเค็น (NFTs) และ สกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrencies) ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ พร้อมกับการปรับกระบวนการใช้ให้มีความเป็นส่วนตัวที่สูงขึ้น

เทคโนโลยีบล็อคเชนสามารถรองรับเศรษฐกิจของพื้นที่เสมือน (Virtual Space) และมีความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม รวมไปถึงการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่ง NFTs ก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือสูง

ข้อดีของการใช้เทคโนโลยี Web 3.0 และบล็อคเชน ที่สามารถกระจายอำนาจแก่ผู้ใช้งานทั่วโลก ทำให้ผู้คนสนใจที่จะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น โดยเริ่มต้นจากโทเค็น (NFTs) และ สกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrencies) ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ซึ่งสามารถยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ พร้อมกับการปรับกระบวนการใช้ให้มีความเป็นส่วนตัวที่สูงขึ้น

เทคโนโลยีบล็อคเชนสามารถรองรับเศรษฐกิจของพื้นที่เสมือน (Virtual Space) และมีความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม รวมไปถึงการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่ง NFTs ก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือสูง

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี Web 3.0 และ Blockchain

Peer to Peer Fintech Technology

การอนุญาติให้ผู้ใช้งานทำการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แบบ Peer to Peer โดยไม่ผ่านตัวกลางอย่างธนาคาร ซึ่งในกรณีนี้ไม่ได้สร้างผลกระทบกับแนวโน้มการเติบโตของของสถาบันการเงิน เนื่องจากทางธนาคารก็สามารถนำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้เพื่อลดต้นทุนการชำระเงินระหว่างสถาบันการธนาคารทั่วโลกได้เช่นกัน

จากข้อมูลดังกล่าวทำให้บล็อกเชนยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาตลาด Fintech โดยข้อมูลจาก Markets and Markets ได้คาดการณ์การเติบโตของบล็อคเชนในตลาด Fintech ว่าจะเติบโตจาก 230 ล้านดอลลาร์ในปี 2017 ไปเป็น 6,228.2 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 นี้

การเงินแบบฝังตัว (Embedded Finance)

การเงินแบบฝังตัว (Embedded Finance) ยังเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากช่วยให้เทคโลยีทางการเงินสามารถรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเงินได้ ตัวอย่างเช่น การชำระเงินผ่านเว็บไซต์ที่อนุญาติให้ผู้ใช้มีตัวเลือกในการชำระเงินแบบผ่อนได้ (หลายงวด) รวมไปถึงการเพิ่มรูปแบบการรับประกันสินค้าในขั้นตอนชำระเงิน เช่น รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การซื้อผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น รวมถึงเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาด

Embedded Finance

ตัวอย่างการใช้งาน Embedded Finance กับ FinTech

การชำระเงินและการประกันภัยแบบฝังตัว (Embed Purchase & Embbed Insurance) ช่วยให้ลูกค้าสามารถซื้อตั๋วเที่ยวบิน พร้อมกับประกันภัย โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกับตัวแทน ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีฟินเทคกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง (BNPL) ที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง

จากข้อมูลของ Future Market Insights ตลาดของการเงินแบบฝังตัวมีมูลค่า 43 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 และมีโอกาสเติบโตไปถึง 248.4 พันล้านดอลลาร์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า

Ai+Machine Learning with Fintech

AI และ Machine Learning

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า โซลูชันฟินเทคมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ในปัจจุบันไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถจัดการกับข้อมูลทั้งหมดได้ดีไปกว่าปัญญาประดิษฐ์อีกแล้ว โดยเฉพาะ เทคโนโลยี “Machine Learning”

Machine Learning คือ การทำให้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านการใส่ข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งเมื่อมีปริมาณของข้อมูลที่มากขึ้น จากกระบวนการและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความฉลาดมากพอที่จะแยกยะ และประมวลผลการทำงานผ่าน Ai ออกมาเป็นความสะดวกสบายของมนุษย์

ปัญญาประดิษฐ์ สามารถช่วยอุตสาหกรรมฟินเทคในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการกับความเสี่ยง การฉ้อโกงจากมิจฉาชีพ การลดต้นทุนในการดำเนินงาน การยกระดับความเป็นส่วนตัว และการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติสำหรับพนักงาน และลูกค้า

นอกจากนี้ ปัญญาประดิษฐ์ยังเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการช่วยจดจำข้อมูล รวมไปถึงการช่วยผู้ใช้งานในการลดค่าใช้จ่ายลง ทั้งยังช่วยให้ธุรกิจการเงินสามารถติดตามสุขภาพทางการเงินของลูกค้าได้โดยการเก็บรวบรวม ไปจนถึงการประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีเงินสด บัตรเครดิต และการลงทุนเพื่อให้บริการที่ตอบโจทย์ จากการวิเคราะห์การใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

รู้จักกับ APPMAN OCR เทคโนโลยี OCR ที่ช่วยดึงข้อมูลจากเอกสาร และรูปภาพ ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล ผ่านการประมวลผลด้วย Ai และ Machine Learning
>> เรียนรู้เพิ่มเติม

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี AL+ML กับ Fintech

ช่วยให้การตัดสินใจเกี่ยวกับการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยี Fintech กำลังพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประมวลผลข้อมูลด้วยพลังของ AI และ ML ผ่านตัวแอปพลิเคชันที่ให้บริการโดยเปลี่ยนข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปช่วยในการตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจจับความปลอดภัย และการฉ้อโกง

ขณะที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลกำลังเข้าครอบงำโลก อาชญากรรมด้านการเงินทางไซเบอร์ก็จะเพิ่มขึ้นควบคู่กัน ซึ่งศักยภาพของเทคโนโลยี AI และ ML สามารถช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับบัญชีของผู้ใช้ได้

Cryptocurrencies และ Blockchain มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะสามารถเชื่อมโยง AI และ ML กับโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัล และป้องกันการฟอกเงินด้วยอัลกอริธึมที่สามารถตรวจสอบรูปแบบที่ผิดปกติได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีคนคอยเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน ผู้ใช้สามารถมั่นใจว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะปลอดภัย

เทคโนโลยี AL และ ML มีผลกระทบอย่างมากต่อการตรวจจับกิจกรรมที่ผิดกฏหมาย เช่น การฟอกเงิน ซึ่งทำให้ รัฐบาลและสถาบันการเงินอื่น ๆ มีความสามารถในการติดตามเครือข่ายทุจริตได้อย่างยอดเยี่ยม

เทคโนโลยีการยืนยันตัวตนดิจิทัล (Digital E-KYC)

เทรนด์ล่าสุดของอุตสาหกรรมฟินเทคได้สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันลูกค้าได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเงินของตนเอง ส่งผลให้สถาบันการเงินมีช่องทางในการลงทุนมากขึ้น เช่น การนำเสนอโซลูชันฟินเทคที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการเงินโดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบทางการเงิน เป็นต้น

จากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการเงินไปสู่กระบวนการทำงานทางดิจิทัล ส่งผลให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ มีความเสี่ยงในการเกิดอาชญากรรมทางการเงินสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น โซลูชันอย่าง E-KYC จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยแก้ปัญหา และจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทั้งยังช่วยให้อุตสาหกรรมธนาคารและการประกันภัย (BFSI) ค้นพบโอกาสมากมายในการสร้างมูลค่า และภาพลักษณะขององค์กร

โซลูชัน E-KYC ช่วยยกระดับความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการเงินอย่างไร ?
[ อ่านต่อคลิก ]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *