fbpx

3 วิธีรับมือหากผู้สมัครโกหกประวัติของตนเองตอนสัมภาษณ์งาน

ทุกวันนี้การโกหกในระหว่างการสมัครงานคือสิ่งที่หลายคนเลือกทำ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้ทำงานในตำแหน่งและองค์กรที่ต้องการ ซึ่งสร้างความท้าทายต่อเจ้าหน้าที่ HR ที่ต้องการหาพนักงานที่มีคุณสมบัติตามความต้องการขององค์กร ในบทความนี้เราจะแนะนำเทคนิคการรับมือการโกหกของผู้สมัครงาน ว่าต้องสังเกตยังบ้างถึงจะรู้ว่าผู้สมัครงานคนนี้กำลังโกหก ไปติดตามอ่านกันได้เลย

สาเหตุของการโกหกของผู้สมัครตอนสัมภาษณ์งาน

ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสมัครงานที่บ่อยครั้งตำแหน่งที่เปิดรับในแต่ละองค์กรอาจไม่เพียงพอที่จะสามารถรองรับผู้สมัครงานทุกคนได้ เมื่อความแข่งขันมีความเข้มข้นสูง ทำให้ผู้สมัครบางคนเกิดการทุจริตในการสมัครงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการโกหกประวัติของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา รวมถึงประวัติอาชญากรรม เพื่อให้ตนเองได้คุณสมบัติตามที่ตำแหน่งหรือองค์กรนั้น ๆ ต้องการ

โดยทาง แดเนียล ดิสนีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ ได้เผยในบทความบน Linkedin ถึงการสำรวจพบว่ามีการโกหกตอนสัมภาษณ์งานมากถึง 81% ซึ่งส่วนใหญ่ผู้คนได้โกหกตั้งแต่ใน Resume งานมากถึง 40% เช่น การโกหกเรื่องทักษะพิเศษต่าง ๆ 

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายในการหาพนักงานของเจ้าหน้าที่ HR ที่จะต้องรับมือกับการโกหกของผู้สมัครงาน และต้องตรวจสอบคุณสมบัติอย่างเข้มข้นว่าสิ่งไหนเป็นเรื่องจริง สิ่งไหนคือเรื่องโกหก เพื่อให้องค์กรได้พนักงานตามคุณสมบัติที่ต้องการ

เรื่องโกหกที่พบบ่อยตอนสัมภาษณ์งาน 

การโกหกในเรื่องสมัครงาน มีหลากหลายเรื่อง ตั้งแต่ประวัติทั่วไป ไปจนถึงประวัติการศึกษา การทำงาน โดยเรื่องที่พบบ่อยว่ามีการโกหกในการสมัครงานมีดังนี้

1.ประวัติการศึกษา 

การโกหกประวัติการศึกษา มักเกิดจากการที่ผู้สมัครงานมีคุณสมบัติที่ไม่ตรงกับงานที่สมัคร เช่น การเรียนจบไม่ตรงกับสาขาที่องค์กรต้องการ หรือวุฒิการศึกษาไม่ถึงระดับที่องค์กรต้องการ ซึ่งการโกหกประวัติการศึกษามักจะเริ่มตั้งแต่ใน Resume โดยอ้างว่าตนนั้นเรียนจบในระดับ และสาขาตามที่บริษัทต้องการ 

ซึ่งการโกหกประวัติการศึกษานั้น หากถูกเจ้าหน้าที่ HR ตรวจสอบและพบว่าไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง อาจส่งผลเสียต่อผู้สมัคร ในการถูกขึ้นบัญชีดำจากเจ้าหน้าที่ HR ขององค์กรอื่น ๆ หรือหากร้ายแรงสุดคือถูกดำเนินคดีความข้อความปลอมแปลงเอกสาร

2.ประวัติการทำงาน

ประวัติการทำงานคืออีกสิ่งที่คนส่วนใหญ่โกหก เนื่องจากหลายตำแหน่งงานในปัจจุบันมักมีการกำหนดคุณสมบัติของอายุการทำงาน และประสบการณ์ทำงานเฉพาะทาง ซึ่งบางคนอาจเคยมีประสบการทำงานที่ตรง แต่มีอายุการทำงานยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็อาจใช้วิธีปลอมแปลงประวัติการทำงานให้ตรงตามที่องค์กรต้องการ

โดยการโกหกประวัติการทำงานนั้น ทางเจ้าหน้าที่ HR สามารถทำการตรวจสอบประวัติจากองค์กรที่ผู้สมัครเคยทำงานก่อนหน้า หากพบว่าไม่ตรงตามที่แจ้ง อาจทำให้ผู้สมัครโดนบัญชีดำ ให้ไม่สามารถสมัครงานในองค์กรอื่นๆ ในสายงานนี้ได้อีก

3.เงินเดือนก่อนหน้า

เงินเดือนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่คนเลือกสมัครทำงานตำแหน่งนั้น ๆ การสมัครงานใหม่ของแต่ละคนนั้นล้วนแต่คาดหวังเงินเดือนที่สูงขึ้นตามประสบการณ์ทำงาน ซึ่งบางคนอาจใช้วิธีโกหกเรื่องเงินเดือนของที่ทำงานล่าสุด เพื่อให้ได้เงินเดือนที่ก้าวกระโดดสูงยิ่งขึ้น

แต่การเรียกเงินเดือนที่สูงเกินไป จะยิ่งทำให้เจ้าหน้าที่ HR สามารถจับพิรุธได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับความรู้ความสามารถของผู้สมัครงาน อาจทำให้ใบสมัครถูกปัดทิ้งตั้งแต่ยังไม่เรียกสัมภาษณ์งานด้วยซ้ำ

4.ทักษะความสามารถพิเศษ

ทุกวันนี้การรับสมัครงานในแต่ละครั้ง นอกจาก ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน และ Hard Skill ที่เป็นคุณสมบัติหลักของการทำงานแล้ว ทักษะความสามารถพิเศษอื่น ๆ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดให้นายจ้างสนใจอยากจ้างงานมากยิ่งขึ้น เช่น ทักษะด้านภาษา, ทักษะการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งบางคนเลือกใช้วิธีโกหกความสามารถพิเศษให้เกินกว่าความสามารถตามความเป็นจริงของตนเอง 

ถึงแม้ว่าการโกหกในด้านความสามารถพิเศษจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งาน แต่ก็อาจส่งผลเสียเมื่อเริ่มงานกับองค์กรใหม่แล้ว หากไม่สามารถทำงานได้ตรงตามอย่างที่ระบุไว้ในในตอนให้สัมภาษณ์ อาจทำให้เกิดปัญหาในตอนทำงาน หรืออาจถึงขั้นถูกประเมินไม่ให้ผ่านช่วงทดลองงาน

5.ประวัติอาชญากรรม

ทุกวันนี้การตรวจประวัติอาชญากรรมคือหนึ่งในกระบวนการที่หลายองค์กรให้ความสำคัญก่อนที่จะรับพนักงานเข้ามาร่วมงาน เพื่อเป็นการเช็กว่าบุคคลนั้น ๆ เคยมีประวัติการกระทำผิดทางอาญาหรือไม่ เช่น คดีทำร้ายร่างกาย คดียาเสพติด หรือการล่วงละเมิดทางเพศ โดยคนที่มีประวัติการกระทำผิดมักจะเลือกปกปิดประวัติในส่วนนี้เพราะกลัวว่าจะทำให้ถูกองค์กรปฏิเสธได้

แต่ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ HR สามารถตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของพนักงานได้ ด้วยวิธีการตรวจประวัติพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงประวัติการกระทำความผิดต่าง ๆ ของผู้สมัครงาน โดยเป็นข้อมูลที่อ้างอิงจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เชื่อถือได้

3 วิธีจับโกหกผู้สมัครงาน

สำหรับการจับพิรุธว่าผู้สมัครงานคนไหนกำลังโกหกอยู่ เจ้าหน้าที่ HR สามารถสังเกตได้จากวิธีการพูดและภาษากายต่าง ๆ ของผู้สัมภาษณ์ ดังนี้

1.สังเกตจากการพูด

วิธีจับผิดการโกหกของผู้สมัคร ที่เจ้าหน้าที่ HR สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ เบื้องต้นคือ การสังเกตจากวิธีการพูด เพราะโดยทั่วไปของมนุษย์เมื่อพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง มักมีลักษณะการพูดที่ผิดจากปกติ เช่น

  • มีการตอบคำถามที่ช้า เกิดการลังเลก่อนที่จะตอบ
  • มีอาการพูดติดขัด ตะกุกตะกัก หรือพูดติดอ่าง
  • มีการใช้เสียงสูงเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนพูดคือความจริง
  • ไม่มั่นใจในการเล่าประสบการณ์การทำงานของตัวเอง 

2.สังเกตจากภาษากาย

นอกจากวิธีการพูดที่ผิดปกติแล้ว หากผู้สมัครกำลังโกหกก็มักมีอาการที่บ่งชัดผ่านภาษากายต่าง ๆ เพราะแต่ละครั้งที่โกหกมักพามาสู่ความเครียด ซึ่งร่างกายจะทำการตอบสนองต่าง ๆ โดยที่ผู้สมัครไม่รู้ตัว ดังนี้

  • มีความเครียดที่บ่งบอกผ่านร่างกาย เช่น เหงื่อออกที่มือ ปากแห้ง หน้าแดง กระสับกระส่าย เป็นต้น
  • ไม่กล้าสบตา มีการพยายามหลบสายตาจากผู้สัมภาษณ์ 
  • ชอบสัมผัสใบหน้า หรือร่างกายของตัวเองอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจมูก 

3.ใช้บริการตรวจสอบ Background Checker

บ่อยครั้งที่การสังเกตพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ HR ก็อาจไม่เพียงพอต่อการที่จะรู้ว่าผู้สมัครนั้นโกหกหรือไม่ ดังนั้นจึงมีตัวช่วยอย่างการตรวจประวัติพนักงาน หรือ Background Checker ซึ่งเป็นบริการสำหรับตรวจประวัติต่าง ๆ ของพนักงานคนนั้น ๆ ตั้งแต่ประวัติการศึกษา สถานะบุคคลล้มละลาย และประวัติอาชญากรรม ซึ่งจะช่วยลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ HR ในการต้องตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ด้วยตนเอง

โดย Appman Background Checker คือบริการตรวจประวัติพนักงานในรูปแบบดิจิทัล (E-KYC) ในรูปแบบออนไลน์ 100% ที่จะช่วยลดขั้นตอนการเตรียมเอกสาร และทราบผลการตรวจสอบที่รวดเร็ว ให้องค์กรของคุณได้พนักงานที่มีคุณภาพ และความสามารถตามที่ต้องการต่อการทำงาน

จะเห็นได้ว่าการโกหกประวัติของตัวเองให้ได้งานนั้น คือสิ่งที่ผู้คนสมัยนี้เลือกทำเพื่อให้ได้งาน ดังนั้นเจ้าหน้าที่ HR จึงต้องหมั่นสังเกต และรับมือให้ดี เพื่อเป็นการคัดกรองและหาพนักงานที่เหมาะสมต่อความต้องการขององค์กร ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมของผู้สมัคร รวมถึงการใช้บริการตรวจประวัติพนักงาน ที่เพิ่มความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *