fbpx

ตรวจสอบประวัติการศึกษาก่อนรับสมัครงาน ช่วยลดปัญหาผู้สมัครงานไม่ตรงสเปค

ตรวจสอบประวัติการศึกษา ก่อนรับสมัครงาน

การปลอมแปลงประวัติการศึกษา เป็นหนึ่งในวิธีทุจริตเพื่อให้ได้เข้าทำงานในตำแหน่งงานที่ต้องการ ส่งผลให้องค์กรได้รับพนักงานที่ความสามารถไม่ตรงสาย หรือคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการมาทำงาน จนสร้างความเสียหายต่อองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงได้มีการตรวจสอบประวัติพนักงานก่อนเข้ามาทำงาน เพื่อให้องค์กรสามารถทราบประวัติไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจสอบประวัติการศึกษา ประวัติอาชญากรรม และประวัติการทำงาน ให้องค์กรได้พนักงานที่ตรงตามต้องการ ซึ่งการรับมือการปลอมแปลงประวัติการศึกษาสามารถทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้เราได้รวมวิธีตรวจสอบประวัติการศึกษาพนักงาน เพื่อให้องค์กรสามารถป้องกันพนักงานที่ไม่ตรงปก และได้คนที่มีความสามารถจริง เชื่อใจได้

ความเสี่ยงจากไม่ ตรวจสอบประวัติการศึกษา ก่อนรับผู้สมัครเข้าทำงาน

ในทุกวันนี้การปลอมแปลงเอกสารมีมากมายหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือการปลอมแปลงประวัติการศึกษา เพื่อให้คน ๆ นั้นได้ตำแหน่งงานที่ต้องการ ซึ่งการรับพนักงานที่ปลอมประวัติการศึกษามาเข้าทำงาน อาจส่งผลเสียต่อองค์กรในภายหลังทั้งทางตรง และทางอ้อม ดังนี้

1. ได้คนทำงานที่ไม่ตรงคุณสมบัติ

การรับสมัครคนที่ปลอมแปลงประวัติการศึกษา ส่งผลกระทบต่อองค์กรในด้านการทำงาน เพราะจะทำให้องค์กรได้พนักงานที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ต้องการ ส่งผลให้ได้ผลงานที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ได้มาตรฐานของตำแหน่งงาน โดยเฉพาะบางตำแหน่งงานเฉพาะทาง เช่น หมอ พยาบาล หรือ วิศวกร ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจเป็นพิเศษ หากได้คนที่ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจจริง ๆ อาจส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อองค์กร หรือผู้ใช้บริการ

2. องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง

นอกจากการรับพนักงานที่ปลอมแปลงประวัติการศึกษาจะส่งผลเสียต่อตัวงานแล้ว ยังส่งผลเสียต่อองค์กรอีกด้วย เพราะหากองค์กรอีกด้วย เพราะมีโอกาสที่พนักงานปลอมแปลงประวัติการศึกษาจะทำงานผิดพลาด เนื่องจากไม่มีความรู้ความสามารถของวิชาชีพเพียงพอ จนส่งผลให้ได้ผลงานที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างที่ควร จนทำให้องค์กรได้รับความเสื่อมเสียทั้งชื่อเสียง รายได้ ไปจนถึงความน่าเชื่อถือ

3. เกิดปัญหาการประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน

บางตำแหน่งงาน นอกจากที่จะใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะทางแล้ว ยังต้องอาศัยการสื่อสาร และประสานงานกับเพื่อนร่วมงานด้วย หากเป็นพนักงานที่ปลอมแปลงประวัติการศึกษาอาจไม่สามารถที่จะประสานงานกับเพื่อนร่วมงานได้มีประสิทธิภาพ จนก่อให้เกิดปัญหาการทำงานในทีมได้

4. เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

อีกหนึ่งผลเสียของการรับพนักงานปลอมแปลงประวัติการศึกษาเข้ามาทำงาน คือการที่องค์กรจะต้องสูญเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เพราะการที่องค์กรได้พนักงานที่ไม่มีประสบการณ์เข้ามาทำงาน ทำให้ต้องเสียโอกาสที่จะได้พนักงานตรงตามความสามารถเข้ามาทำงาน รวมทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายในการให้เงินเดือนแต่ละเดือน โดยที่คุณภาพงานอาจได้ไม่ตรงตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น

โทษของการปลอมแปลงประวัติการศึกษา

การปลอมแปลงประวัติการศึกษา จะมีความผิดในทางกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสาร คือการเติม แก้ไข หรือตัดทอน ข้อความ, ประทับตราปลอม หรือลายมือ จนทำให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิด หลงเชื่อว่าคือเอกสารจริง ซึ่งความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร สามารถแบ่งความผิดออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

ความผิดฐานผู้ทำเอกสารปลอม

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือปลอมแปลงส่วนหนึ่งส่วนใด ตัดทอนข้อความ หรือแก้ไข จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุก 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับ 10,000 – 100,000 บาท
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 ในกรณีที่เอกสารที่ปลอมแปลงนั้น เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ เช่น โฉนดที่ดิน หรือพินัยกรรม จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับ 20,000 – 200,000 บาท
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 การให้ข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน ทำให้จดข้อความที่เป็นเท็จในเอกสารราชการ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ความผิดฐานผู้ใช้เอกสารปลอม

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ผู้ใช้เอกสารปลอม จะต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ทำเอกสารปลอม ตามประเภทเอกสารที่ใช้นั้น ๆ ตามมาตรา 264, 265, 266 และ 267 

วิธีรับมือการปลอมแปลงประวัติการศึกษา

เว็บไซต์ HEDD (Higher Education Degree Datacheck) ที่เป็นผู้ให้บริการตรวจสอบคุณวุฒิของคนสำเร็จการศึกษา ได้เผยวิธีการตรวจสอบใบปริญญาว่าใบไหนคือของแท้ หรือของปลอม โดยมีวิธีดังนี้

1. รูปแบบของใบปริญญา

ขั้นตอนแรกของการตรวจสอบใบปริญญาว่าเป็นของแท้หรือไม่คือการดูจากลักษณะของตราประทับ หรือลายเซ็นบนใบปริญญา ซึ่งลายเซ็นของผู้ประสาธน์ปริญญาส่วนใหญ่จะเป็นลายมือที่เขียนโดยใช้ปากกา หากเป็นใบปริญญาปลอมจะเป็นลายเซ็นที่มาจากการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ควรตรวจสอบตราสัญลักษณ์ที่ประทับว่าถูกต้องกับตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ หรือตรวจสอบกับมหาวิทยาลัยโดยตรงก็ได้

2. ใช้ภาษาที่แปลกประหลาด

อีกหนึ่งวิธีสังเกตใบปริญญาปลอม คือคำผิด หรือคำที่ตกหล่น เพราะบางครั้งการทำเอกสารปลอมแปลงอาจมีการพิมพ์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามที่เนื้อหาในใบปริญญาควรจะเป็น หรืออาจมีการใช้ศัพท์ที่ผิดไวยากรณ์ ดังนั้นการป้องกันการปลอมแปลงใบปริญญาที่ดีคือองค์กรควรตรวจสอบการใช้ภาษาระหว่างใบปริญญาของจริง และของปลอม อาจทำให้เห็นความไม่ปกติได้

3. ที่อยู่ของมหาวิทยาลัย

นอกจากการตรวจสอบคำผิด และการใช้ภาษาแล้ว อีกหนึ่งวิธีในการตรวจสอบใบปริญญาปลอมคือการเช็กที่อยู่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการนำที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ของมหาวิทยาลัยไปค้นหาคำแหน่งที่ตั้ง บางครั้งอาจพบว่าที่อยู่ในเอกสารนั้นอาจเป็นสถานที่อื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย เช่น ตึกแถว หรือลานจอดรถ เป็นต้น

4. ใช้บริการ ตรวจสอบประวัติการศึกษา

การตรวจสอบประวัติการศึกษา ด้วยตนเองนั้นใช้เวลา และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน องค์กรสามารถเลือกใช้บริการตรวจสอบประวัติจากมืออาชีพ หนึ่งในนั้นคือ APPMAN BACKGROUND CHECKER ที่เป็นบริการตรวจสอบประวัติพนักงานที่จะเช็กประวัติการศึกษา จากกองทะเบียนกิจการนักศึกษา และรับผลหนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยโดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน รวมถึงประวัติบุคคลล้มละลาย ด้วยวิธีการดิจิทัลให้องค์กรทราบผลในระยะเวลาอันรวดเร็ว ให้คุณได้ทีมงานที่มีคุณภาพ สามารถเชื่อใจได้

สรุป

จะเห็นได้ว่าการปลอมแปลงประวัติการศึกษานั้นในการสมัครงานนั้น ส่งผลเสียต่อองค์กร ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำให้องค์กรเสื่อมเสียชื่อเสียง, ได้ผลงานที่ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นการ ตรวจสอบประวัติการศึกษา จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้องค์กรได้พนักงานที่ตรงตามความต้องการ สามารถมอบผลงานที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน

Appman-Background-Checker_1200x300

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *