ในยุคที่เราสามารถทำทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต การปลอมแปลงตัวตนจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป จะดีกว่าไหมหากบริษัทที่กำลังมองหาพนักงานใหม่สามารถเช็กประวัติข่าวเสียของผู้สมัคร เพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพมาร่วมงานกับองค์กร แต่จะตรวจสอบประวัติพนักงานได้อย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน เรามาหาคำตอบกันในบทความนี้
ทำไมต้องตรวจสอบประวัติผู้สมัครงาน
เพราะการปลอมแปลงตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน พาสปอร์ต หรือใบรับรองการศึกษาก็สามารถทำของเลียนแบบขึ้นมาได้ ดังนั้นเราจึงไม่มีโอกาสรู้เลยว่าคนแปลกหน้าสามารถไว้วางใจได้มากน้อยแค่ไหน การเช็กประวัติภูมิหลังของผู้สมัครจึงจำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการรับพนักงานใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีมิจฉาชีพเข้ามาภายในองค์กร
1. ชื่อเสียของพนักงานที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์ อาจสร้างปัญหาให้กับองค์กร
การตรวจสอบประวัติผู้สมัคร ไม่เพียงแต่จะทำให้การคัดกรองพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังเพิ่มความปลอดภัยของพนักงานคนอื่น ๆ จากปัญหาที่อาจตามมาในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น
2. การทำร้ายร่างกายบุคคลอื่น
มักจะเกิดจากคนที่มีพฤติกรรมรุนแรง เจ้าอารมณ์ เมื่อถูกกดดันหรือมีแรงกระตุ้นจะทำให้โกรธหรือหงุดหงิดง่าย บางรายไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้จึงก่อเหตุวิวาททำร้ายร่างกาย กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในครอบครัว ที่สาธารณะ ที่ทำงาน เป็นปัญหาผิดวินัยร้ายแรงจนถึงขั้นดำเนินคดี สร้างความเสื่อมเสียให้กับองค์กร
3. การล่วงละเมิดทางเพศ
“ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก โดยผลสำรวจปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงจากข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลกพบว่า จำนวนผู้หญิงที่แจ้งความร้องทุกข์ว่าถูกละเมิดทางเพศจำนวน 30,000 คนต่อปี ส่วนของประเทศไทยนั้น จากข้อมูลของมูลนิธิปวีณา ปี 2565 พบว่ามีผู้หญิงที่ถูกข่มขืนและอนาจาร 944 ราย มากกว่าข้อมูลปี 2564 ถึง 163 ราย”
เหยื่อมักจะถูกข่มขู่ให้เกิดความหวาดกลัวและอับอายจนไม่กล้าบอกคนอื่น รวมถึงไม่กล้าไปแจ้งตำรวจ ผู้กระทำผิดจึงไม่ถูกดำเนินคดีและยังลอยนวล แต่ในปัจจุบันได้มีการรณรงค์เรื่องการถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ทำให้เหยื่อมีความกล้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด เพื่อไม่ให้ไปก่อเหตุซ้ำอีกในองค์กรอื่น ๆ
4. การฉ้อโกง และลักทรัพย์
ปัญหาฉ้อโกงนอกจากจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงขององค์กรแล้ว ยังเป็นเหตุที่ทำให้สูญเสียทรัพย์สินรวมไปถึงข้อมูลสำคัญของบริษัท บางครั้งพนักงานอาจจะฉ้อโกงกันเอง หรือพนักงานฉ้อโกงบริษัท โดยผู้ก่อเหตุจะใช้วิธีแนบเนียนจนดูไม่ออก สร้างความเสียหายให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก
ความท้าทาย และเรื่องยุ่งยาก
ที่ฝ่ายบุคคล (HR) ต้องพบเจอ
จากปัญหาข้างต้น เราจะเห็นได้ถึงความสำคัญของการตรวจสอบประวัติพนักงานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียกับทางองค์กร และเพื่อความปลอดภัยของพนักงานคนอื่น ๆ ในบริษัท แต่การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมนั้นมีหลายขั้นตอนและต้องใช้เอกสารจำนวนมาก อีกทั้งยังใช้เวลาหลายวันในการดำเนินการ สร้างความยุ่งยากให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยลดภาระงานให้กับฝ่ายบุคคล และสร้างสังคมที่ดีให้กับองค์กร
แม้การตรวจเช็กประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครจะใช้เวลา 7-15 วันในการดำเนินการ แต่ในยุคดิจิทัลที่การเข้าถึงเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องยาก เราจึงสามารถตรวจสอบประวัติอาชญากรรม ประวัติการศึกษา รวมไปถึงตรวจสอบ ข่าวเสียของผู้กระทำผิดบนโลกออนไลน์ได้ง่ายๆ และรวดเร็ว โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปตรวจสอบด้วยตนเอง
บริการตรวจสอบประวัติพนักงานแบบดิจิทัล คืออะไร
APPMAN BACKGROUND CHECKER คือ บริการยื่นตรวจสอบประวัติพนักงานจากบริษัท AppMan ที่จะช่วยพลิกโฉมการทำงานของ HR ให้ง่ายมากยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการจัดเตรียมเอกสารผ่านการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัล หรือ E-KYC สามารถเซ็นเอกสารยินยอมได้ทางโทรศัพท์มือถือ ตอบโจทย์การสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ด้วยบริการที่ครอบคลุมรอบด้านแบบครบวงจร
6 บริการตรวจประวัติแบบดิจิทัล APPMAN BACKGROUND CHECKER
บริการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมพนักงาน (CRIMINAL CHECKER)
คือบริการยื่นตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผู้สมัครงาน จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผ่านการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วย เอกสารที่สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ทันที
บริการตรวจสอบประวัติการทำงาน (EMPLOYEE VERIFICATION)
คือ การเช็กประวัติการเข้า-ออกบริษัทเดิมของผู้สมัคร เพื่อยืนยันข้อมูลให้ตรงกันกับเรซูเม่ของผู้สมัคร
บริการตรวจสอบประวัติการศึกษา (EDUCATIONAL CHECKER)
ตรวจสอบประวัติการศึกษาจากกองทะเบียนกิจการนักศึกษาและรับผลรับรองจากมหาวิทยาลัยโดยตรง
บริการตรวจคุณสมบัติของผู้สมัครงานจากบุคคลอ้างอิง (REFERAL CHECKER)
เช็กประวัติของผู้สมัครงานจากบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครได้ให้ข้อมูลไว้ เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครงานคนนั้นว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมกับตำแหน่งงานในบริษัทของเราหรือไม่
บริการตรวจสอบสถานะบุคคลล้มละลาย (BANKRUPTCY CHECKER)
บริการเช็กสถานะบุคคลล้มละลายจากกรมบังคับคดี เพื่อลดปัญหาด้านการทำจ่ายเงินเดือนกับกรมบังคับคดีในภายหลัง
บริการเช็กข่าวเสียบนสื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ (ADVERSE MEDIA CHECKER)
เช็กประวัติข่าวเสียหายของพนักงานบนสื่อออนไลน์ จากแหล่งข่าวที่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ
สรุป
บางครั้งมิจฉาชีพก็อาจมาในคราบของพนักงานบริษัท ดังนั้นเพื่อป้องกันภัยร้ายที่อาจแฝงตัวเข้ามาในองค์กร จึงต้องมีการตรวจสอบประวัติพนักงานอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา ข่าวเสียหายในโลกออนไลน์ ไปจนถึงสถานะบุคคลล้มละลาย เพื่อให้การคัดเลือกพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ