การรับสมัครงานในแต่ละการตรวจประวัติพนักงานที่กระบวนการที่เลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการตรวจประวัติมีตั้งแต่ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการศึกษา ประวัติการเงิน เพื่อเป็นการคัดกรองให้องค์กรได้พนักงานที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ ซึ่งการตรวจประวัติพนักงานยังไง? ให้ได้พนักงานที่ตรงใจองค์กร ในบทความนี้รวมมาให้แล้ว
พนักงานที่เหมาะสมกับองค์กร สำคัญอย่างไร
การเลือกพนักงานให้มีความเหมาะสมต่อองค์กร คือสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญ เพราะการได้พนักงานที่ตรงใจกับองค์กร รวมถึงตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ จะช่วยส่งผลดีต่อองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.ได้ผลงานที่มีคุณภาพ
สิ่งแรกที่จะเป็นผลดีต่อองค์กรจากการได้พนักงานที่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนด คือตัวผลงานที่ได้ออกมามีคุณภาพ ได้ประสิทธิภาพ ซึ่งการได้มาซึ่งพนักงานที่มีความสามารถตามเนื้องานนั้น ๆ เริ่มจากการเลือกพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถที่ตรงสาย โดยองค์กรสามารถตรวจได้จากประวัติการศึกษา และประวัติการทำงานว่าผู้สมัครดังกล่าวว่ามีประสบการณ์ตรงตามที่องค์กรต้องการหรือไม่
2.สร้างความภักดีต่อองค์กร
การได้พนักงานที่มีคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถที่ตรงกับงาน และเหมาะกับวัฒนธรรมขององค์กร จะช่วยให้พนักงานคนนั้น ๆ ได้แสดงความรู้ความสามารถที่มีต่อหน้าที่ของตนเองได้เต็มที่ รวมถึงได้ทีมงานที่สื่อสารเข้าใจกัน ทุกคนมีส่วนร่วมกับงานอย่างเท่าเทียมกัน ส่งผลให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เกิดความภักดี ช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรไปนาน ๆ ลดปัญหาพนักงานที่ลาออกบ่อย
3.เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
เมื่อพนักงานมีคุณภาพ ก็ช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีคุณภาพตามไปด้วย ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีจะช่วยดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ และคนที่มีความสามารถให้อยากเข้ามาร่วมงานมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ต่อองค์กร ช่วยให้เติบโตและสร้างความสำเร็จระยะยาวได้
3 วิธี ตรวจประวัติพนักงานยังไง ให้ได้พนักงานที่ถูกใจองค์กร
การตรวจประวัติพนักงานให้ได้คนทำงานที่มีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการ องค์กรควรใส่ใจวิธีการตรวจประวัติ ดังนี้
1.ตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วน
การตรวจประวัติพนักงานในแต่ละครั้ง ความครบถ้วนของข้อมูลคือสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการตรวจประวัติที่ให้ข้อมูลตามที่องค์กรควรรู้ ซึ่งประวัติที่องค์กรควรตรวจสอบพนักงานมีดังนี้
1.1 ประวัติอาชญากรรม
เป็นการตรวจประวัติการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคลนั้น ๆ เช่น การลักขโมย การทำอนาจาร ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น เพื่อป้องกันองค์กรการเสื่อมเสียชื่อเสียง และเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน
1.2 ประวัติการเงิน
เป็นการตรวจภาระหนี้สิน ภาวะล้มละลาย จำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจสอบพนักงานที่มีหน้าที่จัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในองค์กร เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการยักยอกทรัพย์ของบริษัท
1.3 ประวัติการศึกษา
เป็นการตรวจสอบวุฒิการศึกษาว่าบุคคลนั้นได้เรียนจบตรงตามสาขาวิชาชีพที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันคนที่ปลอมแปลงวุฒิการศึกษาที่จบไม่ตรงสายเข้ามาทำงาน
1.4 ประวัติการใช้สื่อโซเชียล
เป็นการตรวจประวัติข่าวฉาวบนสื่อโซเชียลของบุคคลนั้น ๆ ว่าเคยมีการโพสต์สิ่งที่ไม่เหมาะสมบนโลกออนไลน์หรือไม่ เพื่อปกป้องชื่อเสียงองค์กรเสื่อมเสีย
2.ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบ
ทุกวันนี้ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการตรวจประวัติพนักงาน เพื่อลดกระบวนการทำงานในรูปแบบเดิม โดยมีการใช้ระบบการยืนยันตัวตนดิจิทัล E-KYC ที่ดำเนินการทุกอย่างผ่านรูปแบบออนไลน์ เพื่อสร้างความรวดเร็ว ลดความยุ่งยากของเจ้าหน้าที่ HR และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจประวัติพนักงานมากยิ่งขึ้น
3.เปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้ชี้แจง
ในกรณีที่หลังจากตรวจประวัติพนักงานแล้ว เกิดพบว่าเจอประวัติที่ไม่เหมาะสม ทั้ง ๆ ที่พนักงานดังกล่าวมีคุณสมบัติตามที่ต้องการ องค์กรควรเปิดโอกาสให้พนักงานดังกล่าวได้อธิบายถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรได้เข้าใจถึงเหตุผลต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสหากพบว่าพนักงานดังกล่าวมีความต้องการปรับปรุงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น
สรุป
จะเห็นได้ว่าการ ตรวจประวัติพนักงานยังไง ? ให้ได้พนักงานที่ตรงใจองค์กร คือสิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะการได้พนักงานที่มีคุณสมบัติตรงตามที่องค์กรต้องการมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ออกมามีคุณภาพ สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ
หนึ่งในขั้นตอนที่ทำให้องค์กรได้พนักงานที่ดีคือการตรวจประวัติอาชญากรรม บริการ Appman Background Checker คือตัวช่วยที่จะให้องค์กรได้พนักงานที่โปร่งใส ด้วยการกระบวนการตรวจรูปแบบออนไลน์ 100% ทราบผลไวขึ้นกว่าเดิม ช่วยลดความยุ่งยากการทำงานของเจ้าหน้าที่ HR