fbpx

การ เช็กประวัติ ข่าวเสียบนโลกออนไลน์ ด้วย Adverse Media Checker

Check-with-Adverse-Media_1200x628_result

ทุกวันนี้โลกออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของผู้คน แต่นอกจากการใช้โซเชียลมีเดียในทางที่สร้างสรรค์แล้ว ยังมีคนบางกลุ่มที่มีประวัติข่าวเสียบนโลกออนไลน์ หรือคนที่กระทำความผิด แต่เป็นคดีดำ ที่ไม่สามารถตรวจสอบในประวัติอาชญากรรมได้ เช่น คดีทำร้ายร่างกาย คดีล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น 

ดังนั้น การตรวจเช็กประวัติข่าวเสียของบุคคลในโลกออนไลน์ หรือ Adverse Media Checker จึงเป็นอีกตัวช่วยขององค์กร ที่ต้องการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณภาพ มีประวัติที่เชื่อใจได้เข้ามาร่วมงาน เพื่อป้องกันคนที่อาจมีประวัติเสีย แต่ไม่เคยถูกดำเนินคดี เข้ามาร่วมงาน

ผลเสียของการนำพนักงานที่มีประวัติข่าวเสีย

การได้พนักงานที่มีประวัติข่าวเสียมาร่วมงาน มีความเสี่ยงไม่ต่างจากการนำพนักงานที่มีประวัติอาชญากรรมที่เข้ามาร่วมงาน เนื่องจากพนักงานที่มีข่าวเสียบางคนอาจเป็นภัยเงียบ ที่ไม่เคยมีประวัติที่เคยถูกดำเนินคดี การเลือกคนเหล่านี้มาร่วมงานอาจสร้างความเสียหายต่อองค์กร หรือพนักงานในอนาคตได้ ซึ่งผลเสียของการนำพนักงานสามารถแบ่งได้ ดังนี้

1.เกิดการทำร้ายร่างกาย

การทำร้ายร่างกาย คือปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทั้งในครอบครัว สาธารณะ รวมถึงในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่เป็นงานบริการ มักเกิดเหตุที่ผู้ให้บริการทำร้ายร่างกายลูกค้า จนสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งหลายคนที่ใช้ความรุนแรงก็อาจยังไม่เคยถูกดำเนินคดี หรืออยู่ในระหว่างที่เป็นคดีดำ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบในประวัติอาชญากรรมได้ 

กรณีตัวอย่างข่าวการทำร้ายร่างกาย

เป็นข่าวที่เกิดเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2566 เมื่ออดีตดารา เก่ง เมธัส ได้นำหลักฐานออกมาร้องเรียน ว่าตนนั้นถูกกลุ่มทวงหนี้เว็บพนันทำร้ายร่างกาย ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่งย่านบางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน โดย นายเก่ง ได้ถูกกลุ่มชายดังกล่าวปิดล้อม ข่มขู่ และทำร้ายร่างกาย ก่อนที่ สภ.บางกรวย จะเข้ามาระงับเหตุ

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มีการออกหมายจับ ผู้ก่อเหตุได้แก่ นายประเสริฐ จงมีสุข หรือ แหลม อายุ 45 ปี นายสุระศักดิ์ คำนวณศักดิ์ หรือ เด้ง อายุ 34 ปี และ นายอภิชาติ เรืองฟัก หรือ ฟู อายุ 32 ปี ในข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์ โดยมีอาวุธครอบครอง

อ้างอิง: https://www.thairath.co.th/news/crime/2707478 

2.เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ

การล่วงละเมิดทางเพศ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนาน โดยเฉพาะในสถานที่ทำงาน และไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยการเช็กประวัติอาชญากรรมได้เสมอไป เนื่องจากเหยื่อไม่กล้าไปแจ้งตำรวจ เพราะกลัวเสียชื่อเสียง แต่ในปัจจุบันได้มีเหยื่อหลายคนได้ทำการโพสต์ประจารผู้ก่อเหตุบนสื่อออนไลน์ เพื่อสร้างความเสื่อมเสียให้กับผู้ก่อเหตุ แต่อาจส่งผลให้ผู้ก่อเหตุอาจหลุดจากการดำเนินคดี และไปก่อเหตุที่อื่นๆ อีกในอนาคต จนสร้างความเสื่อมเสียให้กับองค์กรถัดไป รวมถึงทำให้พนักงานในองค์กรทำงานด้วยความไม่สบายใจ 

กรณีตัวอย่างข่าวการล่วงละเมิดทางเพศ

เป็นข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ย. 2565 เมื่อ นายรวิพล พุ่มเรือง ผู้ช่วยผู้กำกับซีรีส์วาย ได้ถูกดำเนินคดีจากกรณีล่วงละเมิดทางเพศเด็กชายที่มีอายุเพียง 15 ปี ทำให้ถูกดีเอสไอที่ร่วมกับ สภ.บางบัวทอง ดำเนินการจับกุม แม้ว่าเจ้าตัวจะให้การปฏิเสธ 

จากข่าวดังกล่าว ได้ส่งผลทำให้ นายรวิพล ได้ถูกองค์กรที่ทำงานอยู่ลงโทษด้วยการพักงานจนกว่าจะมีผลการพิจารณา และจะทำการไล่ออกจากตำแหน่งทันทีหากผลพิจารณาพบว่าผิดจริง

อ้างอิง: https://mgronline.com/entertainment/detail/9650000106552 

3.ฉ้อโกง

การฉ้อโกง คืออีกหนึ่งปัญหาที่หลายองค์กรเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นการโกงกับพนักงานด้วยกันเอง หรือการโกงต่อบริษัท จนนำมาสู่การสูญเสียทรัพย์สิน และข้อมูลสำคัญของบริษัท บางครั้งตัวผู้ก่อเหตุใช้วิธีการฉ้อโกงที่แนบเนียนจนไม่สามารถตรวจสอบในประวัติอาชญากรรมอย่างเดียวได้ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเมื่อองค์กรรับพนักงานที่มีประวัติการฉ้อโกงมาร่วมงาน อาจทำให้บุคคลนั้นก่อเหตุซ้ำในองค์กรใหม่ จนสร้างความเสียหายแก่องค์กรได้

กรณีตัวอย่างข่าวการฉ้อโกง 

เป็นข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อ ม.ค. 59 เมื่อได้มีกลุ่มเกษตรกรสวนยางจากหมู่ 2,5,7 ตำบลเขาน้อย อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช มากกว่า 50 คน ได้แจ้งความที่ สภ.สิชล ให้ดำเนินคดีกับ นางกิตติพร เพ็งชำนาญ เจ้าของร้านเสริมสวนในคดีฉ้อโกง เนื่องจาก นางกิตติพร ได้ทำการโกงค่าแชร์จากเงินของสมาชิก เป็นมูลค่ารวมกว่า 3 ล้านบาท

คดีนี้เริ่มต้นจาก นางกิตติพร ที่เป็นเจ้ามือแชร์จำนวน 2 วง รวมสมาชิก 143 คน โดยสมาชิกของวงแชร์จะต้องส่งเงินงวดละ 1,000 บาท เดือนละ 2 ครั้ง คือวันที่ 1 และ 15 ของเดือน เป็นเวลา 2-3 ปี และสามารถเปียร์แชร์ได้ครั้งละ 2-3 แสนบาท แต่ลูกแชร์กลับพบว่าไม่ได้รับค่าแชร์ ในขณะที่ นางกิตติพร ได้ปิดร้านเสริมสวย และหนีมาเปิดร้านใหม่ที่ อำเภอสิชล ซึ่งยอดเงินแชร์ที่ นางกิตติกร เบี้ยวลูกแชร์รวมเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท

อ้างอิง: https://www.matichon.co.th/local/crime/news_5058 

สรุป

การตรวจประวัติ Adverse Media คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับองค์กรที่ต้องการป้องกันคนที่มีประวัติไม่ดี ที่ยังไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมเข้ามาร่วมงาน เพราะบางครั้งคนที่หลุดรอดจากประวัติอาชญากรรม อาจสร้างผลเสียต่อองค์กร รวมถึงพนักงานได้ ดังนั้นการตรวจเช็กประวัติด้านข่าวบนสื่อออนไลน์จึงเป็นตัวช่วยชั้นดีให้องค์กรได้พนักงานที่เชื่อถือ และมั่นใจได้มาร่วมงาน

Appman-Background-Checker_1200x300

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *