การบริหารงาน HR ในปัจจุบัน มีการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการจัดการมากยิ่งขึ้น เพราะข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ และตีความเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับองค์กรได้ People Analytics คือหนึ่งในกระบวนการที่หลายองค์กรเลือกใช้ เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการบริหารพนักงานให้สามารถอยู่ในองค์กรได้นาน ๆ รวมถึงการเลือกคนดี มีคุณภาพเข้ามาร่วมงาน
People Analytics คืออะไร มีบทบาทในการช่วย ตรวจประวัติพนักงาน อย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบ
รู้จักกับ People Analytics
People Analytics คือกระบวนการบริหารบุคลากรในองค์กร โดยใช้ข้อมูลทางดาต้า มาวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Payroll, ระบบวันลา, คะแนนการประเมิน และ KPI ของพนักงานคนนั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กรและพัฒนาพนักงานในองค์กรให้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันการบริการคนด้วยกลยุทธ์ People Analytics ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น จากรายงานของ Deloitte เมื่อปี 2019 ได้เผยว่า บริษัทกว่า 70% ได้เริ่มใช้การวิเคราะห์บุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร นอกจากนี้จากผลสำรวจของ CIPD ในปี 2018 พบว่า 65% ของคนที่ทำงานในองค์กรที่มีวัฒนธรรมการวิเคราะห์บุคลากร สามารถทำผลงานที่โดดเด่นกว่า บริษัทคู่แข่ง
4 วิธีการใช้ People Analytics ให้มีประสิทธิภาพต่อองค์กร
การใช้ People Analytics ในการเพิ่มประสิทธิภาพต่อองค์กร มีวิธีดำเนินการ ดังนี้
1.สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
เป็นการกระตุ้นให้พนักงานในองค์กรให้ความสำคัญในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจแทนที่จะใช้ความรู้สึกหรือสัญชาตญาณ ข้อดีของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล จะช่วยให้พนักงานมีความคิดเชิงวิพากษ์ ตั้งคำถาม และสามารถตีความแนวคิดที่ซับซ้อน
โดยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการฝึกให้พนักงานมีการประเมิน และบันทึกข้อมูลทุกครั้งเพื่อวัดผลความสำเร็จแต่ละผลงาน เพื่อให้พนักงานเกิดการเปรียบเทียบ และพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น รวมถึงได้เรียนรู้ความผิดพลาดของตนเอง
2.ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
ประเมินถึงปัญหาและวัตถุประสงค์ขององค์กร ว่าจะนำ People Analytics มาช่วยแก้ปัญหา หรือช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านใดบ้าง เพื่อให้องค์กรสามารถนำเครื่องมือการวิเคราะห์หรือเทคโนโลยีที่มีมาทำการวัดผล และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้ถูกต้องชัดเจน รวมถึงนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้วางแผนกลยุทธ์ขั้นต่อไปเพื่อพัฒนาองค์กร เช่น ข้อมูล KPI, ประวัติการลาของหนักงาน เป็นต้น
3.รวบรวมข้อมูล
การใช้งาน People Analytics จะไม่ได้ประสิทธิผลเลยหากไม่มีการรวบรวมข้อมูลของพนักงาน โดยข้อมูลต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ HR สามารถนำมาจากระบบสารสนเทศต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลผลการประเมินพนักงาน ข้อมูลการลาหรือเข้าออกงาน รวมถึงข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของพนักงาน เป็นต้น
4.ตีความข้อมูล
หลังจากที่ได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อมาของ People Analytics คือการนำข้อมูลที่ได้มาตีความ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนกลยุทธ์และแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม โดยจะต้องติดตามการดำเนินการว่าได้ประสิทธิภาพตามที่องค์กรต้องการหรือไม่
People Analytics ช่วยคัดเลือกพนักงานที่ดีเข้ามาร่วมงานได้ยังไง
การใช้ People Analytics ช่วยให้องค์กรได้พนักงานที่ดีมาร่วมงานไม่ว่าจะทางตรง ทางอ้อม โดยมีประโยชน์ดังนี้
1.ช่วยให้รู้จำนวนพนักงานที่ต้องการจ้าง
People Analytics จะช่วยให้องค์กรสามารถทราบถึงปริมาณการจ้างงานที่เหมาะสมต่อการทำงาน ว่าในแต่ละปีนั้น องค์กรต้องการจ้างพนักงานจำนวนหลักร้อย หรือหลักพันคนต่อปี
โดยการพิจารณาการจ้างงานนั้น อาจเปรียบเทียบจากข้อมูลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลงานขององค์กร รวมทั้งพิจารณาความต้องการขององค์กร ว่าต้องการจ้างพนักงานใหม่เพื่อแทนที่คนเก่าที่ออกไป หรือมาเพราะความต้องการขยายตัวขององค์กร
2.รู้ว่าองค์กรควรจ้างพนักงานแบบไหน
ไม่ว่าจะองค์กรไหน ก็ล้วนแต่ต้องการคนที่มีความสามารถเหมาะสมเข้ามาร่วมงาน โดยในปัจจุบันการ ตรวจประวัติพนักงาน คือหนึ่งในกระบวนการที่ทุกองค์กรใช้ก่อนเริ่มรับคนเข้าทำงาน เพื่อคัดกลองและเลือกคนที่ใช่ที่สุดเข้ามาทำงาน ซึ่งการใช้ People Analytics จะช่วยให้องค์กรรู้ว่าต้องการคนทำงานแบบไหน เพื่อสามารถจ้างพนักงานได้อย่างตรงใจมากที่สุด ผ่านการตรวจประวัติที่ตรงจุดประสงค์ของตำแหน่งงานที่ต้องการ
โดยการ ตรวจประวัติพนักงาน ก็มีตั้งแต่การตรวจประวัติการศึกษา ไปจนถึงประวัติอาชญากรรม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้พนักงานที่เคยกระทำความผิดเข้ามาทำงานจนสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและทรัพย์สินขององค์กร
3.ช่วยให้สามารถรักษาพนักงานไว้ในองค์กรได้นานขึ้น
การใช้ People Analytics คืออีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยรักษาพนักงานให้อยู่ในองค์กรได้ยาวนานขึ้น เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรสามารถเข้าใจความต้องการของพนักงานมากยิ่งขึ้น ผ่านผลสำรวจความคิดเห็นต่าง ๆ และวิเคราะห์ความพึงพอใจของพนักงาน เพื่อนำไปปรับปรุงกับสวัสดิการต่าง ๆ ขององค์กร
เมื่อองค์กรมีการรับฟัง และมีการออกแบบสวัสดิการที่ดี ก็จะช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกอยากจะอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ เกิดความซื่อสัตย์ อยากทุ่มเททำงานที่มีคุณภาพให้องค์กร และช่วยดึงดูดคนดี มีความสามารถให้อยากเข้ามาร่วมงานมากขึ้น
สรุป
โดยรวมการใช้ People Analytics เป็นรูปแบบการทำงานที่ HR ยุคใหม่ควรให้ความสำคัญ เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรเพิ่มคุณภาพในการดูแลพนักงาน ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ หาคน และรักษาคนทำงานที่มีคุณภาพไว้ได้นาน ๆ รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ให้ดึงดูดคนเก่ง คนดีอยากเข้ามาร่วมงาน