ในปัจจุบันอาชญากรรมเกิดขึ้นมากมายหลากหลายคดี อาจสร้างความเสียหายและความสูญเสียให้กับองค์กรได้ไม่น้อย ทาง AppMan จึงได้สำรวจและรวบรวมข้อมูล ประวัติอาชญากรรม ที่ได้รับจากผู้ใช้บริการ Background Check กับเรา หากฝ่ายบุคคลขององค์กรต้องการแนวทางดี ๆ ไปปรับใช้วางแผนหรือออกนโยบายป้องกันความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม AppMan มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 4 อันดับประวัติอาชญากรรมที่มักพบในองค์กรมาฝากทุกคนกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า คดีอาญาแบบไหนที่ตรวจพบบ่อยที่สุดในบรรดาผู้สมัครงานทั้งหมด
คดีอาญาคืออะไร?
ก่อนจะรู้กันว่า 4 อันดับประวัติอาชญากรรมที่พบมากที่สุดในองค์กรมีคดีอะไรบ้างนั้น อันดับแรกต้องรู้ความหมายของคำว่า “คดีอาญา” ให้เข้าใจกันเสียก่อน
“คดีอาญา” คือ คดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรง จนสร้างความเสียหายและความสูญเสียต่อร่างกาย จิตใจ ชีวิต และทรัพย์สินของผู้เสียหาย ยกตัวอย่างคดีอาญา เช่น การทำร้ายร่างกาย การขับรถฝ่าฝืนกฏจราจร การใช้สารเสพติด รวมถึงการลักขโมยหรือทำลายทรัพย์สิน เป็นต้น โดยหน่วยงานรัฐจะเป็นฝ่ายดำเนินคดีเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นธรรมในสังคม ผู้ที่ถูกดำเนินคดีอาญาจะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางกฎหมาย ซึ่งอาจถึงขั้นถูกจำคุกหรือได้รับโทษทางอาญารูปแบบต่าง ๆ
คดีอาญามีกี่ประเภท?
หลายคนอาจสงสัยกันว่า คดีอาญามีกี่ประเภท? ซึ่งโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการยอมความ ได้แก่
1.คดีอาญาที่ยอมความไม่ได้
หรือที่หลายคนเข้าใจกันว่า “คดีที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน” ซึ่งเป็นการกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายและะความเสียหายต่อร่างกาย จิตใจ ชีวิต และทรัพย์สิน อีกทั้งยังกระทบต่อความสงบสุขของคนในสังคมโดยรวม จึงไม่สามารถยอมความได้ แม้ผู้เสียหายจะไม่ติดใจเอาความ แต่คดีก็ยังต้องดำเนินไปตามกระบวนการกฎหมาย ยกตัวอย่างคดีอาญาประเภทนี้ เช่น
- ฆาตกรรม
- การลักทรัพย์/ปล้นทรัพย์
- การทำร้ายร่างกาย
- การบุกรุกที่อยู่อาศัยในยามวิกาล
- ความประมาทที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2.คดีอาญาที่ยอมความได้
หรือที่เรียกว่า “คดีส่วนบุคคล” เป็นคดีอาญาที่มีความรุนแรงไม่ถึงขั้นคุกคามสังคมส่วนรวมมากนัก กฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายและผู้ต้องหาตกลงไกล่เกลี่ยหรือตัดสินคดีกันเองได้ หากทั้งสองฝ่ายยินยอม เพื่อให้คดีความสิ้นสุดลง ยกตัวอย่างคดีอาญาที่ยอมความได้ เช่น
- การหมิ่นประมาท
- การทะเลาะวิวาท
- การยักยอกทรัพย์
- การฉ้อโกง
- ความผิดฐานกระทำอนาจาร
4 อันดับ ประวัติอาชญากรรม ที่พบมากที่สุด มีอะไรบ้าง?
ในปัจจุบันอาชญากรรมมีแนวโน้มเกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และหนึ่งในจุดที่อาจเผลอรับบุคคลแปลกหน้าที่เคยมีประวัติอาชญากรรมเข้าสู่องค์กรได้ง่ายที่สุดก็คือ “สถานที่ทำงาน” ซึ่งถ้าหากขาดกระบวนการเช็คประวัติอาชญากรรมหรือตรวจสอบประวัติอาชญากรที่ชัดเจน การก่อเหตุซ้ำในลักษณะคดีอาญาต่าง ๆ ย่อมสร้างความเสียหายทั้งด้านชื่อเสียงและผลประกอบการของบริษัท
ทาง AppMan ได้รวบรวมข้อมูลจากการเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ให้กับองค์กรหลากหลายแห่ง เพื่อให้เห็นภาพรวมว่า คดีอาญาประเภทใดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นสามารถดูได้จากตารางด้านล่าง
คดีความ | อัตราเฉลี่ย |
ยาเสพติด | 54.17% |
การจราจร/การขับขี่ | 20.83% |
ล่วงละเมิดทางเพศ | 8.33% |
การพนัน | 4.17% |
ความผิดทางทรัพย์สิน | 4.17% |
อันดับ 1 ประวัติอาชญากรรม ด้านยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดถือเป็นปัญหาที่อยู่คู่สังคมมาทุกยุคทุกสมัย และจากข้อมูลที่เราได้รวบรวมมาพบว่า คดียาเสพติดยังครองอันดับ 1 ด้วยอัตราเฉลี่ยสูงถึง 54.17% ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความน่ากังวลต่อการครอบครอง จำหน่าย หรือผลิตยาเสพติดในปริมาณมาก องค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของพนักงานอย่างเคร่งครัด รวมถึงสอดส่องพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการก่อคดียาเสพติดอยู่เสมอ
หากมีพนักงานที่มีประวัติหรือพัวพันกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นผู้เคยติดยา หรือเคยมีประวัติการค้าและจำหน่ายสารเสพติด อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัท อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับทีมงานคนอื่น ๆ และบ่อนทำลายสภาพแวดล้อมการทำงานโดยรวมขององค์กรได้อีกด้วย
อันดับ 2 ประวัติการกระทำผิดกฎจราจร
คดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่หรือการจราจร ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบอาชญากรรมที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เริ่มตั้งแต่การฝ่าฝืนกฎเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างการฝ่าไฟแดงหรือขับรถเร็วเกินกำหนด ไปจนถึงคดีร้ายแรงอย่างเมาแล้วขับ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตของผู้อื่นได้ จากข้อมูลในตารางพบว่า องค์กรต่าง ๆ ตรวจพบ ประวัติอาชญากรรม ด้านการขับขี่มากถึง 20.83% เลยทีเดียว ดังนั้น ในกลุ่มธุรกิจที่ให้บริการด้านการขนส่งซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครให้ถี่ถ้วน เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันและลดความเสี่ยงต่อการร้องเรียน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรในระยะยาว
อันดับ 3 ประวัติการล่วงละเมิดทางเพศ
คดีล่วงละเมิดทางเพศยังเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสถานที่ทำงานที่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ได้บ่อยกว่าที่คาดคิด จากข้อมูลในตารางข้างต้นพบว่า ประวัติอาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศมีค่าเฉลี่ยถึง 8.33% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการเช็คประวัติอาชญากรรมของผู้สมัครที่อาจมีพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อสร้างวัฒนธรรมในที่ทำงานให้ปลอดภัยและป้องกันไม่ให้พนักงานทุกคนต้องกังวลหรือหวาดระแวงต่อการถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ
อันดับ 4 ประวัติอาชญากรรมด้านการพนันและความผิดทางทรัพย์สิน
สำหรับสองอันดับสุดท้ายที่มีค่าเฉลี่ย 4.17% ได้แก่ คดีที่เกี่ยวกับการพนันและคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ถึงแม้ตัวเลขจะดูไม่สูงมาก แต่ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นได้ในสถานการณ์ที่ผู้สมัครงานบางคนมีปัญหาทางการเงินหรือเป็นหนี้สินและนำไปสู่การเล่นพนันหรือลักทรัพย์ในอนาคตข้างหน้า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ องค์กรมีโอกาสสูญเสียทรัพย์สินหรือรายได้อย่างมหาศาลได้ ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบประวัติอาชญากรก่อนว่าจ้างพนักงานใหม่จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์และผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว
ควรเช็คประวัติอาชญากรรมอย่างไรให้เสี่ยงน้อยลง?
การเช็คประวัติอาชญากรรมเป็นวิธีสำคัญที่องค์กรสามารถป้องกันความเสี่ยงและรักษาความปลอดภัยภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีการตรวจสอบอาชญากรรมหลัก ๆ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลนิยมนำไปใช้คัดกรองพนักงานใหม่ มีดังนี้
- เช็คประวัติอาชญากรรมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สามารถยื่นคำขอตรวจสอบประวัติบุคคลได้จากเว็บไซต์ www.crd.go.th เพื่อตรวจสอบข้อมูลคดีอาญาและประวัติอาชญากรรมได้ ซึ่งเป็นช่องทางทางการที่น่าเชื่อถือ - เช็คประวัติกับบุคคลอ้างอิงหรือเจ้านายเก่า
การติดต่อสอบถามจากคนที่เคยทำงานร่วมกับผู้สมัครงานมาก่อน จะช่วยให้ทราบถึงพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่แท้จริงว่ามีความเสี่ยงหรือเข้าข่ายพฤติกรรมอาชญากรรมหรือไม่ - ใช้บริการบริษัทรับตรวจสอบประวัติอาชญากร
ในปัจจุบันมีบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมโดยเฉพาะ ซึ่งมักเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ช่วยให้องค์กรรับข้อมูลที่อัปเดตและครอบคลุมได้สะดวกขึ้น
เช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ได้ไหม?
หลายคนอาจสงสัยได้ว่า ในปัจจุบันสามารถเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์ได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้จริง และค่อนข้างสะดวก ซึ่งมีทั้งบริการของหน่วยงานราชการบางส่วนที่เปิดให้ตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงแพลตฟอร์มจากบริษัทเอกชนที่ใช้เทคโนโลยีและเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งช่วยให้ผู้ว่าจ้างและฝ่ายบุคคลเข้าถึงข้อมูล ประวัติอาชญากรรม ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการประหยัดเวลาและต้นทุน
สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวช่วยเช็คประวัติอาชญากรรมที่ตอบโจทย์ AppMan Criminal Checker เป็นหนึ่งในบริการตรวจประวัติอาชญากรรมพนักงานรูปแบบดิจิทัล 100% ที่ช่วยให้องค์กรเช็คผลได้เร็ว รู้ผลได้ไว และมั่นใจว่าข้อมูลอัปเดตถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยที่ภาครัฐกำหนด หากต้องการเพิ่มความมั่นใจในกระบวนการสรรหาพนักงาน บริการนี้สามารถรองรับความต้องการของฝ่ายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่น้อยเลยทีเดียว
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ ประวัติอาชญากรรม
Q : เช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์กับ AppMan มีอะไรบ้าง?
A : อันดับแรกองค์กรต้องรับความยินยอมจากบุคคลนั้นก่อนจะนำข้อมูลส่วนอ่อนไหว ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, ที่อยู่, หมายเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขใบขับขี่ ส่งให้กับตำรวจผ่านลิงก์ SMS ที่ AppMan ส่งมาให้ และใช้เวลาไม่กี่วันถึงจะได้ผลตรวจออกมา
Q : มี ประวัติอาชญากรรม สมัครงานได้ไหม
A : แม้บุคคลนั้นมีประวัติอาชญากรรม แต่ก็ยังสามารถสมัครงานบางประเภทได้ โดยมีมาตรการบรรเทาผลกระทบและการมอบโอกาสในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต จึงนับว่าเป็นการให้โอกาสให้ได้รับการจ้างงานและกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ
สรุป
อาชญากรรมสามารถสร้างความเสียหายต่อองค์กรได้อย่างคาดไม่ถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ 4 อันดับประวัติอาชญากรรมที่เกิดขึ้นบ่อยในองค์กร ได้แก่ คดียาเสพติด การกระทำผิดกฎจราจร การล่วงละเมิดทางเพศ และการพนันหรือความผิดทางทรัพย์สินตามลำดับ ซึ่งล้วนสะท้อนถึงความจำเป็นที่องค์กรต้องมีมาตรการป้องกันหรือเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม
เพราะฉะนั้น การตรวจสอบประวัติอาชญากรจึงเป็นการลงทุนเชิงป้องกันที่คุ้มค่ากับทั้งการบริหารความเสี่ยงและภาพลักษณ์ในระยะยาว โดยสามารถเช็คประวัติอาชญากรรมออนไลน์กับ AppMan Criminal Checker ที่แม่นยำ สะดวก และรวดเร็วก่อนจ้างงานได้ ทุกคนก็จะสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาหลายด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ทีมงานทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ในอนาคตนั่นเอง
